Blog

อันนี้ขอยกบทความทั้งหมดของ SCG buildingmaterial.com มาเลยนะครับ สำหรับคนที่อยากประหยัดงบในการสร้างหรือต่อเติมบ้าน และกลัวว่าผู้รับเหมาจะคิดราคาค่าวัสดุเกินความจำเป็น บทความนี้ช่วยเราตัดสินใจว่า วัสดุก่อสร้างไหนเราซื้อเอง และแบบไหนเราควรให้ผู้รับเหมาเป็นคนซื้อ ด้วยหลักการที่ว่า “อย่าเสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย” กันเลยครับนับจำนวนได้ วัสดุก่อสร้างที่เราสามารถซื้อเองได้ ควรเป็นของที่นับจำนวนได้ ปริมาณไม่มาก เช่น กระเบื้อง สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ อ่างล้างหน้า ซิงค์ล้างจาน โคมไฟ ปลั๊กไฟ เป็นต้นเพราะบางอย่างเป็นเรื่องของความชอบ หรือรสนิยม ผู้รับเหมาน้อยคนที่จะเดาถูกว่าเราชอบอะไรแบบไหน ส่วนวัสดุก่อสร้างที่เราควรให้ผู้รับเหมาซื้อ คือ ของที่นับจำนวนยาก มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนสูง เช่น ปูน อิฐ ผนังยิปซั่ม ฝ้า สี เหล็กโครงสร้าง เหล็กรูปพรรณอื่นๆ เป็นต้น เพราะวัสดุพวกนี้นอกจากนับจำนวนยากแล้ว ยังมีเรื่องของคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดอีกด้วย ซึ่งตรงนี้ถือเป็นเรื่องทางเทคนิคที่เราอาจไม่ทราบ...

ภาคต่อจาก EP. ที่แล้วที่ว่าด้วยเหล็กเบา เหล็กเต็ม… วันนี้เราจึงรวบรวมวิธีการตรวจสอบเหล็กที่ได้ มาตราฐาน มอก. อย่างง่ายๆกันครับ ไม่ต้องใช้เครื่องตรวจวัด ใช้แค่ 2 มือน้อยๆของเรานี่หละครับ1.ตรวจสอบด้วยตาเปล่า : ให้สังเกตที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือหน้าตัดเหล็กซึ่งต้องเท่ากันตลอดความยาวเส้น ผิวเหล็กเรียบ หน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น 2.ตรวจสอบได้จากป้ายรายละเอียดข้อมูลหรือ “ใบกำกับเหล็ก” ซึ่งจะระบุข้อมูลสำคัญต่างๆ เอาไว้ครบถ้วน อย่างเช่น ชื่อบริษัท ประเภทสินค้า ชั้นคุณภาพ  ขนาด ความยาว จำนวนเส้นต่อมัด เลขที่เตาหลอม วัน/เวลาที่ผลิต หรือเลขที่ มอก. แต่ใบกำกับเหล็กจะมากับเหล็กล็อตใหญ่ หากเราสั่งเพียงไม่กี่เส้นหรือใบกำกับหล่นหาย เราสามารถสังเกตได้จากรอยประทับตรา มอก. และรายละเอียด บนผิวเหล็ก ซึ่งรอยประทับเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดทั้งความยาวของเหล็ก 3.การชั่งน้ำหนัก : นำเหล็กที่เราจะตรวจสอบมาตัดให้ได้ขนาด 1 เมตร แล้วเอาไปชั่งน้ำหนัก หากชั่งแล้วน้ำหนักอยู่ในมาตราฐานของ สมอ. แสดงว่าเหล็กนี้ได้มาตราฐาน...

สำหรับคนในวงการคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับคนนอก (วงการ) หรือคนที่กำลังจะเข้ามาเป็นคนใวงการอาจมีคำถามว่า คืออะไร? เกิดมาไม่เคยได้ยินว่าเหล็กเบา...